ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 โครงสร้างการจัดการของบริษัทประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อยจำนวน 5 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน ดังนี้

บทบาทและความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน

1
คณะกรรมการบริษัท
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนร่วมกับผู้บริหารในการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบาย ทิศทางการดำเนินงาน และกำกับควบคุมดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งเสริมให้กรรมการยึดถือการปฏิบัติหน้าที่ตามหลัก Fiduciary Duty ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างมีจริยธรรม และมีความเท่าเทียม
2
คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนในการทบทวน วิเคราะห์ และเสนอรายชื่อบุคคลที่จะได้รับการพิจารณาแต่งตั้งในการดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหาร สรรหากรรมการที่ความรู้ทักษะ และประสบการณ์ที่หลากหลาย มีเวลาปฏิบัติงานที่เพียงพอ เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล และสัดส่วนกรรมการอิสระ เพื่อเกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างกรรมการบริษัทและฝ่ายบริหาร และจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งงานที่สำคัญ (Succession Plan) ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหาร เพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท
3
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนในการสนับสนุนคณะกรรมการในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารความเสี่ยงขององค์กรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ครอบคลุมความเสี่ยงที่สำคัญ ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (ESG Risk) ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) สร้างวัฒนธรรมด้านการบริหารความเสี่ยง พร้อมทั้งให้ข้อแนะนำด้านการบริหารความเสี่ยง โดยมีฝ่ายบริหารความเสี่ยงประสานงานเพื่อดำเนินการ
4
คณะกรรมการบริหาร
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนในการปฏิบัติเพื่อตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายตามวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบายที่กำหนด ให้บริษัทเป็นองค์กรที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
5
คณะกรรมการตรวจสอบ
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืน เป็นผู้มีความอิสระในการกลั่นกรองประเด็นสำคัญด้านการตรวจสอบบริษัทและให้ความเชื่อมั่นในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น รายงานทางการเงิน ระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน การปฏิบัติตามกฎหมาย กรอบและกระบวนการบริหารความเสี่ยง ผู้สอบบัญชี รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นต้น พร้อมทั้งรายงานหรือให้ความเห็น/ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ โดยมีฝ่ายตรวจสอบภายในประสานงานเพื่อดำเนินการ
6
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความยั่งยืน
มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อความยั่งยืนในการสนับสนุนการปฏิบัติงานและให้คำแนะนำคณะกรรมการในการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรด้านความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียพร้อมติดตามดูแลให้มีการนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นรูปธรรม และสอดรับกับหลักปฏิบัติสากล โดยมีโครงสร้างการดำเนินงานดังนี้